Counter

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 6



ให้นักศึกษาอ่านรายละเอียดของ พรบ.เงินเดือนเงินวิทยะฐานฯ แล้วตอบคำถาม
1. พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
2.พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2554
1.พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใด
                พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗” ประกาศใช้เมื่อ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
                พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔  ประกาศใช้เมื่อ   ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
2. ตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ข้อใด ไม่ใช่เงินเดือน
                ตำแหน่งที่ไม่มีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ใช้บัญชีของข้าราชการพลเรือนเงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน
3.คณะรัฐมนตรีสามารถออก พระราชกฤษฎีกา เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไร
                กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่าเนื่องจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นข้าราชการที่ได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 5 มิถุนายน 2550 ในการที่จะได้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นร้อยละเท่ากันทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ประกอบกับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้รายได้สุทธิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาลดลง สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละเท่ากันทุกอันดับในอัตราร้อยละ 4 หากอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
4.ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู คศ.และรับเงินเดือนเท่าไร
                เงินเดือนครูผู้ช่วย ที่บรรจุด้วย วุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี  เมื่อบรรจุ จะได้รับเงินเดือน 7,940 บาท ถ้าผ่านการประเมิน เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว 2 ปี จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ได้รับเงินเดือนในอันดับ คศ.ขั้น 10,770 บาท ตามบัญชีแนบท้ายกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ พ.ศ.2553   แต่ต่อมาได้มีการปรับเงินเดือนใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2554โดยมีผลบังคับใช้ ประกอบกับเงินเดือนขั้น 10,770 บาท ไม่มีในบัญชีเงินเดือนชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแนบท้ายหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.  จึงมีมติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปรับเงินเดือนในขั้น 10,770 บาทไป และให้ใช้เงินเดือนในขั้น 11,000 บาท เป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน

กิจกรรมที่ 5


ตอนที่ 1. ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  แล้วตอบคำถามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
                พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้ 12 มิถุนายน 2546
2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
                ครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาอื่น
3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง                                                                                                                                                                                                            1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
                2.  กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
                3. ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
                1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                2. ควบคุม ความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                3.ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
                4. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
                5. สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                6. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
                7. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
                8. รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
                9. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
                10. เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
                11. ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
(ก) การกำหนดลักษณะต้องห้ามมาตรา 13
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(ญ) การใด ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
                12. ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
                13. ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฏกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ
                14. กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
                15.  การให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา ข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาและให้ใช้บังคับได้
5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
                1. ค่าธรรมเนียมตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                2. เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
                3. ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
                4. เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
                5. ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4) รายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษีอากร
6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
                39 คน ประธานมาจากครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย
7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้องประกอบด้วย
                   กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง   มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้ / ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี / ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ
8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
                คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่  6 ข้อ สำคัญ คือ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
                คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ  17 คน ประธาน คือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา พิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอน
10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
                เลขาธิการคุรุสภา ต้องมีอายุ  ไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ –ไม่เกิน 65 ปี
11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
                ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ประกอบด้วย  วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน
12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
                คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ / มีวุฒิทางการศึกษา / ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด
13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
                หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้อง อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน
14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
                 มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย   มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ / มาตรฐานการปฏิบัติงาน / มาตรฐานการปฏิบัติตน
15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
                  มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วย  จรรยาบรรณต่อตนเอง , ต่ออาชีพ,
ต่อผู้รับบริการ , ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ,ต่อสังคม
16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
                คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่  ยก/ตัก/ภาค/พัก/เพิก คือ ยกข้อกล่าวหา / ตักเตือน / ภาคทัณฑ์ / พักใช้ใบอนุญาต ไม่เกิน 5 ปี / เพิกถอนใบอนุญาต
17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภท ประกอบด้วย
                2 ประเภท คือ สามัญและกิตติมศักดิ์ (เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์)
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
                สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดเมื่อ   5 วิธี คือ ตาย/ลาออก/คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้น/ถอดถอนกิตติมศักดิ์/ถูกเพิกถอนใบอนุญาต)
19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
                สกสค.ย่อมาจาก   คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
                สกสค. มี  23 คน  รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ)
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
                ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตหรือไม่ได้รับการยกเว้นมีโทษ  จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
                ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษ จะต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
                ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ 2546 คือ   พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
                อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (ต่อ/แทน , รองนาญขึ้น = 200, 300 , 400 . 500บาท หมายถึง ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต 200 บาทใบรับรอง 300 บาทแสดงความชำนาญการ 400บาทขึ้นทะเบียนใหม่ 500 บาท
ตอนที่  2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
                วิชาชีพ    (Profession) เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่นและมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบวิชาชีพต่างกับอาชีพ (Career) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จ โดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น
                วิชาชีพซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง  ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูงตามมา  เพราะมีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน  จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา  (Intellectual Method) ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ (Long Period of Training) มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ(Professional Autonomy) และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ(Professional Ethics) รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพ (Professional Institution)  หรือองค์กรวิชาชีพ(Professional Organization) เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชีพ
2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
                วิชาชีพควบคุม
                พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุมการกำหนดอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้ศึกษานิเทศก์เป็นวิชาชีพควบคุมแล้ว
                ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยมิได้รับใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต เว้นแต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาต หากประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือแสดงด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ รวมทั้งสถานศึกษาที่รับผู้มิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้
                ผู้ที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในกฎกระทรวงทั้งของรัฐและเอกชนที่จัดการศึกษาปฐมวัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา
                ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 44 อาทิ อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่าหรือมีคุณวุฒิอื่นตามที่คุรุสภารับรอง และผ่านการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด เป็นต้น
                ส่วนผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 43 อาทิ เป็นผู้เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราว ในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา ผู้จัดการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เป็นต้น
                นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ได้แก่ พระภิกษุที่ทำหน้าที่สอนหรือบริหารสถานศึกษา ผู้สอนศาสนาที่ทำหน้าที่สอนในสถานศึกษา ผู้สอนตามโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนที่ทำหน้าที่สอนหรือบริหารโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ผู้ทำหน้าที่สอนหรือบริหารโรงเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา
3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
                การประกอบวิชาชีพควบคุม
ครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา  และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่
กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม    ต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัด
และเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้
                 1.  ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพโดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด  ผู้ไม่ได้รับอนุญาตหรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
                2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
                3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กล่าวหา หรือกรรมการคุรุสภา    กรรมการมาตรฐานวิชาชีพและบุคคลอื่น มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
                4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้                                                                                                                                      
4.มาตรฐานวิชาชีพทางการ ศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
                มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา  คือ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา    ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม  เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ  สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ  ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา    และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ    ต้องใช้ความรู้    ทักษะ    และความเชี่ยวชาญในการ
ประกอบวิชาชีพ
                ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ. 2546  มาตรา  49 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
    1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  หมายถึง  ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ  จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ  จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
  2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ   ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน  หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้  ความสามารถ  และความชำนาญ    เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการ
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่    นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
     3.  มาตรฐานการปฏิบัติตน   หมายถึง   ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ  โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ  เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง  ฐานะ เกียรติ  และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ  ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป  หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว  ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัย  ชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้    (1)    ยกข้อกล่าวหา    (2)    ตักเตือน    (3)    ภาคทัณฑ์     (4)   พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร    แต่ไม่เกิน    5    ปี  (5)   เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา  5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
                มาตรฐานความรู้
  มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภา รับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
    1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
    2.  การพัฒนาหลักสูตร
    3.  การจัดการเรียนรู้
    4.  จิตวิทยาสำหรับครู
    5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา
    6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน  
    7.  การวิจัยทางการศึกษา
    8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
    9. ความเป็นครู
                มาตรฐานประสบการณ์ของครู
  ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีและผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
    1.  การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
    2.  การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                 มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ 
การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู  หมายถึง  การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง  การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ   และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงาน หรือสมาคมจัดขึ้น  เช่น  การประชุม    การอบรม  การสัมมนา   และการประชุมปฏิบัติกา  เป็นต้น  ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจ
                  มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
  การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ  โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน    หมายถึง    การเลือกอย่างชาญฉลาด   ด้วยความรัก  และหวังดีต่อผู้เรียน    ดังนั้น    ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
                 มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                  การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน  หมายถึง  การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของ ครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด  ตามความถนัด ความสนใจ  ความต้องการ โดยวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหา  ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน  ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิมรวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ  ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
                 มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                 การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง    หมายถึง    การเลือกใช้  ปรับปรุงหรือสร้างแผนการสอน  บันทึกการสอน  หรือ เตรียมการสอนในลักษณะอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
                   มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                   การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ  หมายถึง  การประดิษฐ์คิดค้น    ผลิตเลือกใช้ ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์  เอกสารสิ่งพิมพ์    เทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้
                 มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
               การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน หมายถึง  การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป
                    มาตรฐานที่ 7   รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                    การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ  หมายถึง  การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสาเหตุ  ปัจจัย  และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง  โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด  ดังนี้
1)  ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการ พัฒนาผู้เรียน
2)   เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน  และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้น
3)   ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่กำหนด ที่เกิดกับผู้เรียน
4)   ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
                     มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
                    การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน  หมายถึง  การแสดงออก  การประพฤติและปฏิบัติในด้านบุคลิกภาพทั่วไป  การแต่งกาย  กิริยา  วาจา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ  ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธา  และถือเป็นแบบอย่าง
                     มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                    การร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์  หมายถึง   การตระหนักถึงความสำคัญ  รับฟังความคิดเห็น    ยอมรับในความรู้ความสามารถ    ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา  และร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
                    มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                    การร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญรับฟังความคิดเห็น  ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นในชุมชน  และร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา  ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน  และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ
                   มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                   การแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา  หมายถึง  การค้นหา  สังเกต  จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน  โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู    สามารถวิเคราะห์    วิจารณ์อย่างมีเหตุผล    และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหา  พัฒนาตนเอง  พัฒนางาน  และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
                   มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
                   การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์  หมายถึง  การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยการนำเอาปัญหาหรือความจำเป็นในการพัฒนาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในการเรียนและการจัดกิจกรรมอื่นๆ  ในโรงเรียนมากำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้    เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของผู้เรียนที่ถาวร    เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของครูอีกแบบหนึ่งที่จะนำเอาวิกฤติต่างๆ    มาเป็นโอกาสในการพัฒนา    ครูจำเป็นต้องมองมุมต่างๆ  ของปัญหาแล้วผันมุมของปัญหาไปในทางการพัฒนา    กำหนดเป็นกิจกรรมในการพัฒนาของผู้เรียน   ครูจึงต้องเป็นผู้มองมุม

มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธาซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อวิชาชีพเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ  ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์  และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ
6.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
7.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่ เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8.  ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะจรรยาบรรณต่อสังคม
9.   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญา  สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ ของส่วนร่วมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข