Counter

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ 
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะที่ได้ผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ ปรับปรุงแก้ไข และลงประชามติจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง แต่จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นมาตลอดในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา ทางออกหนึ่งของปัญหาที่พูดถึงกันมากในสังคม คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว โดยต่างฝ่ายก็ต่างแสดงเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป

องคมนตรี
                ที่มา          :    พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย  
                                     ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี  
                                     ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
               จำนวน       :    ประธานองคมนตรี 1  คน  และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน  18  คน
               หน้าที่        :   ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา

วุฒิสภา
                ที่มา             :     1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
                                             2. การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
                จำนวน      :    150  คน
                                     1. จำนวน 76 คน มาจากการเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ๆ ละ 1 คน
                                            2. จำนวน 74 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสภา
                วาระ           :    6  ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
                                       1. ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน วัน
                                               2. ส.ว. ที่มาจากการสรรหาเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
                หน้าที่        :       1. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร
                                      2. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
                                      3. ควบคุมฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ และขอเปิดอภิปรายทั่วไป (ส.ว. 1/3)  
                                              4. ให้ความเห็นชอบในการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                คุณสมบัติ  :   1. สัญชาติไทยโดยการเกิด
                                       2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์
                                       3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
                                      4. ไม่เป็นบุพการี  คู่สมรส  หรือบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                                      5. ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองยังไม่เกิน 5 ปี
                                      6. ไม่เป็น ส.ส. หรือเคยเป็นส.ส. และพ้นจากการเป็น ส.ส.มาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
                                     7. ไม่เป็น ร.ม.ต. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพ้นจากการดำรงตำแหน่งยังไม่เกิน 5 ปี
                                              8. ส.ว.ที่มีสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วไม่เกิน 2 ปีจะเป็น ร.ม.ต. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้ 
         ภาผู้แทนราษฎร
                 ที่มา       :       มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
                จำนวน     :    480 คน
                                     1. จำนวน 400 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ๆ ละ 3 คน
                                     2. จำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน  โดยแบ่งเขตพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่ม
                 วาระ         :     4  ปี
                                      1. ถ้าครบวาระให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน
                                      2. ถ้ายุบสภาให้มีการจัดการเลือกตั้งภายใน – 60 วัน
                                              3. ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร
                 หน้าที่      :      1. แต่งตั้งและควบคุมฝ่ายบริหาร
                                             2. ออกกฎหมาย (พระราชบัญญัติ)
                 คุณสมบัติ  :  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
                                      2. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
                                      3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน
                                      4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือเคยเกิด หรือเคยศึกษา (ไม่น้อยกว่า 5 ปี)  หรือเคยรับราชการ และมี                     
                                          ชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                                     5. ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และมีการสิ้นสุดสมาชิกภาพมาแล้วไม่
                                         น้อยกว่า 2  ปี
                                     6. ไม่เป็นผู้บริหาร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
                                     7. ไม่เป็นข้าราชการ  พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
                                     8. ไม่เป็นคณะกรรมการในองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นในรัฐธรรมนูญ
                                             9. ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯลฯ                                                                                                   การร่างพระราชบัญญัติ
                1. ผู้เสนอ  -1.1 คณะรัฐมนตรี
                                   1.2 ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน                                                                                                                          
                                   1.3 ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรฯ)                                                   
                                   1.4 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน  (เกี่ยวกับสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย กับ                                  หน้าที่ของชนชาวไทย)
                2. ผู้พิจารณา -    1. สภาผู้แทนราษฎร
                                           2.  วุฒิสภา
                3. ผู้ตรา พระมหากษัตริย์
                                  3.1 ถ้าเห็นชอบพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย                                                                                            
                                  3.2 ถ้าไม่เห็นชอบ ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา 
                4. มีผลบังคับใช้ -  ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา                                                                                                 
คุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง
                         1. มีสัญชาติไทย  ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี
                         2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
                         3. มีรายชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
 คุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง
                         1. เป็นภิกษุ  สามเณร  นักพรต  หรือนักบวช
                         2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                         3. อยู่ในระหว่างต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
                         4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ                                                                                                                                                 
คณะรัฐมนตรี
                  ที่มา   :       พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
                                   ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
                  จำนวน   :    นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
                  วาระ        :    4  ปี
                  หน้าที่     :    บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
                                   1. ด้านความมั่นคง
                                   2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น)
                                   3. ด้านศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
                                   4. ด้านกฎหมาย และการยุติธรรม
                                   5. ด้านการต่างประเทศ
                                   6. ด้านเศรษฐกิจ
                                   7. ด้านที่ดิน  ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
                                   8. ด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
                                    9.  ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
                  คุณสมบัติ :  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
                                       2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
                                       3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ( 4-8  ตามคุณสมบัติของ ส.ว. ข้อ 5 – 9 ของ ส.ส. ฯ)
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
        1. การตั้งกระทู้ – ส.ส. หรือ ส.ว.ทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่
        2. การเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2.1 ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ  อภิปรายทั่วไป  เพื่อลงมติไมไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และต้องเสนอชื่อ ผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย
        2.2 ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี เป็นรายบุคคล
        2.3 ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือ ชี้แจงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ
        3. การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
        3.1 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า  20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีฯลฯ ผู้ใดที่ร่ำรวยผิดปกติ  ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง  ออกจากตำแหน่งต่อประธานรัฐสภา  
ศาลรัฐธรรมนูญ
                องค์กร – ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
                ที่มา  -  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้
                1. ผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 3 คน
                2. ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวน 2 คน
                3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์  จำนวน  2  คน
                4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์  จำนวน  2  คน
           - ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลฎีการัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
                จำนวน -  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  8  คน
                วาระ  -  9  ปี  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
                คุณสมบัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
                                1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
                                2. มีอายุไม่ต่ำกว่า  45  ปี
                                3. ไม่เป็น ส.ส. , ส.ว. , ข้าราชการเมือง ,  สมาชิกสภาท้องถิ่น ,  ผู้บริหารท้องถิ่น
                                4. ไม่เป็น หรือเคยเป็นสมาชิก หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ของพรรคการเมืองในระยะ 3 ปีก่อนดำรงตำหน่ง
                หน้าที่  -  1.  พิจารณาและวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดแย้งรัฐธรรมนูญ
                                2.   พิจารณาและวินิจฉัยความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  
                                      หรือองค์กร ตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาล  
ศาลยุติธรรม
                องค์กร  -  คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
                ที่มา  -  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและการให้พ้นตำแหน่งของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบ
                                 ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
                คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วย
        1. ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
        2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ได้แก่ ศาลฎีกา  6  คน  ศาลอุทธรณ์  4 คน  ศาลชั้นต้น  2  คน
        3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  8  คนและได้รับเลือกจากรัฐสภา                                                                                                     
ระดับของศาล  -  มี  3  ระดับ  คือ  ศาลชั้นต้น  ศาลอุทธรณ์  ศาลฎีกา
                     หน้าที่   1.  พิจารณาคดีต่าง ๆ ตามระดับชั้นของศาล
                                   2.  ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง  ส.ส. และ ส.ว.  
                ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
                ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีหน้าที่พิจารณา   
ศาลปกครอง
                องค์กร  -  คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
                ที่มา  -  คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและรัฐสภาเห็นชอบแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบ
                บังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
                จำนวน  -  ประธานศาลปกครองสูงสุด  จำนวน  1  คน และตุลาการศาลปกครอง  12  คน
                หน้าที่  -  พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ  หน่วยงานราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ  องค์กรปกครองท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน
                ระดับของศาล  -  มี  2  ระดับ                                                                                                                                                                                 
                                  1. ศาลปกครองชั้นต้น                                                                                                                                                                                                                
                                  2. ศาลปกครองสูงสุด
ศาลทหาร
                หน้าที่   -  พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหาร                                                                                                                          องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ  มี  4  องค์กร  คือ
                1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง  (ก.ก.ต.)
                2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ค.ต.ง.)
                3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
                4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
 คณะกรรมการการเลือกตั้ง
                ที่มา  -  1.  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
                                  ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
                                  ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
                             2.  คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง มีจำนวน 7  คน ได้แก่  ประธานศาลฎีกา,   
                                  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ,  ประธานศาลปกครองสูงสุด ,  ประธานสภาผู้แทนราษฎร,  
                                 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ,  บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก  1  คน และบุคคล
                                  ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก  1  คน
                 มีหน้าที่คัดเลือกกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 3 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
        3.  ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีการพิจารณาสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 2 คน เสนอต่อ  
        ประธานวุฒิสภา
       4.  วุฒิสภาให้ความเห็นชอบและประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์
          เพื่อทรงแต่งตั้ง
                จำนวน  -  ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง  จำนวน  1  คน และกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน  4  คน
                หน้าที่  1.  จัดการเลือกตั้งและเพิกถอนการเลือกตั้ง ส.ส. , ส.ว. ,  องค์กรปกครองท้องถิ่น  
                            2.  ลงประชามติ
                            3. ควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับพรรคการเมือง 
 ผู้ตรวจการแผ่นดิน
                ที่มา  -  1.  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
                                   ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
                            2.  คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน มีจำนวน 7 คน (เหมือนกับคณะกรรมการสรรหา
                                   คณะกรรมการเลือกตั้ง)  ทำหน้าที่สรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน  3  คนเสนอต่อประธาน
                                   วุฒิสภา
                            3.  วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ และประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรง
                                   แต่งตั้ง
                จำนวน  -  ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน  1  คน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน  2  คน
                วาระ  -  6  ปี และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว
                หน้าที่  -  1.  พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียน  การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือละเว้น
                                การปฏิบัติตามกฎหมายของข้าราชการ  พนักงาน  หน่วยงานราชการ  รัฐวิสาหกิจหรือราชการ
                                 ส่วนท้องถิ่น
                                2.  ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                                3.  ติดตามประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
                ที่มา     :       พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามความเห็นชอบของวุฒิสภา
                                               ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
                จำนวน  :  ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน  และกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอีก  6  คน
                วาระ   :     6  ปี  และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
                หน้าที่  :    1.  กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
                                                2.  ให้คำแนะนำและเสนอแนะแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
                                                3.  แต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง  เพื่อวินิจฉัยคดีทางวินัยทางการเงิน
                                                       และการคลัง
                 คุณสมบัติ  :    1.  มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน  การบัญชี  การคลังและอื่น ๆ
                                                         2.  มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
 องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
       1. องค์กรอัยการ  -  มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดย
   เที่ยงธรรม
        2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
    - ตรวจสอบและรายงานการกระทำ หรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
       3. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    - ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม  รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ารตรวจสอบทรัพย์สินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปนี้
1.  นายกรัฐมนตรี  2.  รัฐมนตรี
3.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  4.  สมาชิกวุฒิสภา
5.  ข้าราชการการเมืองอื่น  6.  ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน  คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ  ทุกครั้งที่รับตำแหน่ง  หรือ พ้นตำแหน่ง                                                                                                                                                 
 2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้คือ ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค                                                                                   

             มาตรา ๓๐ (ความเสมอภาค)บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

                การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความ แตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคมความ เชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
                มาตราการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคล สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือว่า เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
            ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา                                                                                                                      

                มาตรา ๔๙

     บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
     ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น                                                                                                                             
     การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
                มาตรา ๕๐
                บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชา                                                                                                                                            
                การการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน                                                           
                มาตรา ๕2 เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญเด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าวการแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่ง
               มาตรา๘๖ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน ดังต่อไปนี้
                (๑) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง ๆโดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้ จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา จัดให้มีการใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุนให้ประชาชนใช้
หลักด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต
                (๒) ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
                (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติและเป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ                                                                                                                                                                           
                มาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้
                (1) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
                (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
                (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่
                (4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชนรวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
                (5) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน
                มาตรา ๒๘๗ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติการจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นตามวรรคสอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
และสิ่งที่เกี่ยวข้องอีกประการหนึ่งคือ                                                                            
            อปท.ย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรมและเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติและต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย 
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง     
                 การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
                มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
                ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
                การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
                เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
                บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
                บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
                สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
                ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง ๆโดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้ จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา จัดให้มีการใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุนให้ประชาชนใช้
                หลักด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต
                การส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
       4. ทำไมเราต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ?
                เพราะการที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม   การอยู่รวมกลุ่มกันของมนุษย์ในสังคมทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่วางระเบียบ   และกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์เองตามสภาพบังคับของสังคมนั้นๆ ทั้งนี้ เมื่อสังคมต้องการ ระเบียบ  กฎเกณฑ์  หรือ  กฎหมาย  ฉันใด ประเทศก็ย่อมต้องการ รัฐธรรมนูญ  ฉันนั้นดังสุภาษิตกฎหมายที่ว่า มีสังคมอยู่ที่ไหนมีกฎหมายอยู่ที่นั่น  นั่นเอง
                ซึ่งเราทราบกันดีแล้วว่า   รัฐนั้นต้องประกอบด้วยดินแดน ประชากร รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย  โดยนัยนี้  รัฐธรรมนูญ  คือ กฎหมายซึ่งว่าด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับรัฐนั่นเอง  เช่นว่า ดินแดน  จะกว้างไกลแค่ไหน เป็นรัฐเดี่ยวหรือรัฐรวม ประชากร มีสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่เพียงใด รัฐบาล   เป็นใคร มาจากไหน   ตั้งขึ้นอย่างไร   เอาออกได้หรือไม่ ใครเป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตย   ใครเป็นผู้ใช้  แล้วจะใช้อย่างไร  และมีการจัดระบบระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร เป็นต้น 
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมี   ประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
      สำหรับเหตุผลที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็สามารถแยกเหตุผลให้เห็นได้ชัด ดังต่อไปนี้
                1. ปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้เข้ากับยุคปัจจุบัน
                2. เพราะเห็นช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญฉบับเก่า
                3. ทำให้ผู้เสียเปรียบจากรัฐธรรมนูญฉบับเก่าได้รับผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น
                4. เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม
       ในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนบางกลุ่มนั้น ประชาชนกลุ่มดังกล่าวมีสิทธิ์ที่จะคัดค้าน แต่การคัดค้านของประชาชนนั้นอาจมองได้หลายมิติ เช่น บางคนคัดค้านเพราะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับเก่าดีอยู่แล้ว เมื่อร่างฉบับใหม่ ประชาชนเป็นผ้เสียเปรียบ นักการเมืองหรือข้าราชการเป็นผู้ได้เปรียบ นั่นก็เป็นมุมมองที่ดี แต่บางคนคัดค้านเพราะได้รับผลประโยชน์ ได้รับเงินจากคนบางกลุ่มที่ได้รับความเสียเปรียบ จึงใช้เงินให้ประชาชน ชาวบ้าน ที่ไม่ได้นึกถึงข้อดีข้อเสียเข้าร่วมคัดค้าน ซึ่งเห็นได้ชัดในสังคมไทย ถ้ามองให้ดี ลองนึกดูว่าทำไมเปลี่ยนรัฐบาลครั้ง จะต้องมีการเปลี่ยน/แก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้ง ผลประโยชน์นั้นเกิดกับผู้ที่จะร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญแน่นอน

6. ปัจจุบัน การปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว                                                                                                                          
              สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉัน ดิฉันคิดว่า รัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงที่มั่นคงและน่าเชื่อถือและยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ที่ดี และมีความสามารถที่จะรักษาความมั่งคงและเสถียรภาพของการบริหารบ้านเมืองต่อไปได้ แต่อยากให้เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกฝ่ายนั้นได้ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม และดำเนินงานให้เป็นไปอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งต้องตั้งมั่นอยู่บนความยุติธรรม ความถูกต้องและยึดหลักกฎหมายและรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขของประชาชน ให้สมกับที่ประชาชนได้ฝากความไว้วางใจและความมั่นคงรวมถึงความเจริญก้าวหน้า ของประเทศชาติไว้ในมือพวกท่าน

อ้างอิง


                กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ.(2555). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (ออนไลน์).http://library2.parliament.go.th/giventake/cons2540-2550.html [ 18 พฤศจิกายน 2555]