Counter

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

คำนิยามเกี่ยวกับกฏหมายการศึกษา  
         

           ปรัชญา (Philosophy): นิยามว่า ระบบความเชื่อที่เป็นผลจากการแสวงหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและการแสวงหาความหมายของชีวิตและสรรพสิ่งต่างๆ                                                                                           
            มาตรฐานการศึกษา (Education Standards): นิยามว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแลการตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพการศึกษา                                                                                                                   
            นโยบาย นิยามว่า  แนวทางหรือกรอบที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือปฎิบัติให้บรรลุเป้า หมายตามต้องการ                                                                                                                                                                                                     
             ปณิธาน (Will):  นิยามว่า ความตั้งใจหรือความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตนเองให้คุณค่าและมีความเชื่อซึ่งก่อให้เกิดพลังจิต ที่จะกำหนดความคิดและการกระทำของตนเอง                                                                                                                                               
             พระราชกฤษฎีกา นิยามว่า เป็นกฎหมายลูกบทกล่าวคือมิได้เป็นกฎหมายแม่บทเป็นกฎหมายที่ออกมาภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญติและพระราชกำหนด เช่นพระราชกฤษฎีกายุบสภา,พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งเป็นต้นที่ออกภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ                                                                                                                                        
            ศาลยุติธรรม นิยามว่า คือศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมการละเมิดสิทธิ ร่างกาย ทรัพย์สินเช่นศาลอาญา,ศาลแพ่ง                                                                                                                                                                                   
            คดีแพ่ง นิยามว่า คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน                                                                                                                                                                                
            ภาษีอากร นิยามว่า เงินรายได้ที่รัฐจัดเก็บจากผู้ที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด                                    
            คดีอาญา นิยามว่า เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน                                                   
            วินาศภัย นิยามว่า ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ 
            การศึกษาในระบบ คำนิยาม เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัด และการประเมินผลอันเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ได้แก่ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆทั้งของรัฐและเอกชน
          การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิีธีการจัดการศึกาา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและปรเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
          การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยอาศัยจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่าง ๆ การอบรมวิชาชีพในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การอบรมภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
         การศึกษา คำนิยาม การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยกระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ การฝึก การอบรม การสืบสารวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรุ้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุุคคลเรียนรู้ตลอกชีวิต
         การศึกษาขั้นพื้นฐาน คำนิยาม การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
         การศึกษาตลอดชีวิต คำนิยาม การศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
         สถานศึกษา คำนิยาม สถานพัฒนาเด็กประถมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน สถาบัน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาอื่น หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
         สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คำนิยาม สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         ผู้สอน คำนิยาม ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาต่างๆ
         ครู คำนิยาม บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
         บุคลากรทางการศึกษา คำนิยาม ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศ และการบริการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ                                                                                                                                                                         
อ้างอิง
                กลุ่มสตรีเพื่อสันติภาพ.(2550). คำศัพท์ทางกฎหมาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttps://sites.google.com/site/wepeaceyala/kha-saphth-thang-kdhma[ 10 พฤศจิกายน 2555]
               Jan SAN.(2551). คำศัพท์ที่เป็นประโยชน์ทางกฎหมาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://blog.eduzones.com/cazii/82767.[ 10 พฤศจิกายน 2555]
               กฎหมายไทย.(2549). คำศัพท์ที่เป็นประโยชน์ทางกฎหมาย.(ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://www.thailaws.com/[ 10 พฤศจิกายน 2555] 
               ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.


                                                                                                                                                           




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น