1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
รัฐธรรมนูญฉบับปี
พ.ศ. 2550
ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
เพราะที่ได้ผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ ปรับปรุงแก้ไข
และลงประชามติจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง
แต่จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นมาตลอดในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา ทางออกหนึ่งของปัญหาที่พูดถึงกันมากในสังคม คือ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ
ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว
โดยต่างฝ่ายก็ต่างแสดงเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป
องคมนตรี
ที่มา : พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย
ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี
ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
จำนวน :
ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน
หน้าที่
: ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา
วุฒิสภา
ที่มา :
1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
2. การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
จำนวน :
150 คน
1. จำนวน 76 คน
มาจากการเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ๆ ละ 1 คน
2. จำนวน 74 คน
มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสภา
วาระ :
6 ปี
และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
1. ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน
วัน
2. ส.ว.
ที่มาจากการสรรหาเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
หน้าที่ :
1. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร
2. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
3. ควบคุมฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้
และขอเปิดอภิปรายทั่วไป (ส.ว. 1/3)
4. ให้ความเห็นชอบในการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คุณสมบัติ :
1. สัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 40
ปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ ส.ส.
หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
5. ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
หรือพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองยังไม่เกิน 5 ปี
6. ไม่เป็น ส.ส.
หรือเคยเป็นส.ส. และพ้นจากการเป็น ส.ส.มาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
7. ไม่เป็น ร.ม.ต.
หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพ้นจากการดำรงตำแหน่งยังไม่เกิน 5 ปี
8. ส.ว.ที่มีสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วไม่เกิน 2 ปีจะเป็น ร.ม.ต.
หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้
สภาผู้แทนราษฎร
สภาผู้แทนราษฎร
ที่มา :
มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
จำนวน :
480 คน
1. จำนวน 400
คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ๆ ละ 3 คน
2. จำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยแบ่งเขตพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่ม
วาระ :
4 ปี
1. ถ้าครบวาระให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน
45 วัน
2. ถ้ายุบสภาให้มีการจัดการเลือกตั้งภายใน – 60 วัน
3. ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร
หน้าที่ :
1. แต่งตั้งและควบคุมฝ่ายบริหาร
2. ออกกฎหมาย
(พระราชบัญญัติ)
คุณสมบัติ :
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 25
ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า
90 วัน
4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
หรือเคยเกิด หรือเคยศึกษา (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) หรือเคยรับราชการ
และมี
ชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
5. ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา
หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และมีการสิ้นสุดสมาชิกภาพมาแล้วไม่
น้อยกว่า 2 ปี
6. ไม่เป็นผู้บริหาร
หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
7. ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
8. ไม่เป็นคณะกรรมการในองค์กรอิสระ
และองค์กรอื่นในรัฐธรรมนูญ
9. ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
ฯลฯ การร่างพระราชบัญญัติ
1. ผู้เสนอ -1.1 คณะรัฐมนตรี
1.2 ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
1.3 ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรฯ)
1.4 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน (เกี่ยวกับสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย กับ
หน้าที่ของชนชาวไทย)
2. ผู้พิจารณา - 1. สภาผู้แทนราษฎร
2. วุฒิสภา
3. ผู้ตรา - พระมหากษัตริย์
3.1 ถ้าเห็นชอบพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
3.2 ถ้าไม่เห็นชอบ ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา
4. มีผลบังคับใช้ - ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คุณสมบัติของบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. อายุไม่ต่ำกว่า
18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีรายชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า
90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
คุณสมบัติของบุคคลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. อยู่ในระหว่างต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
ที่มา : พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
จำนวน :
นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
วาระ :
4 ปี
หน้าที่ :
บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
1. ด้านความมั่นคง
2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
(ส่วนกลาง, ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น)
3. ด้านศาสนา สังคม
สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
4. ด้านกฎหมาย
และการยุติธรรม
5. ด้านการต่างประเทศ
6. ด้านเศรษฐกิจ
7. ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. ด้านวิทยาศาสตร์
ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
9. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
คุณสมบัติ : 1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35
ปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
หรือเทียบเท่า ( 4-8 ตามคุณสมบัติของ ส.ว. ข้อ 5 – 9 ของ ส.ส. ฯ)
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
1. การตั้งกระทู้ – ส.ส. หรือ ส.ว.ทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่
2. การเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2.1 ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ อภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไมไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และต้องเสนอชื่อ
ผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย
2.2 ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า
1 ใน 6 มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี เป็นรายบุคคล
2.3 ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า
1 ใน 3 มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง
หรือ ชี้แจงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ
3. การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
3.1 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีฯลฯ ผู้ใดที่ร่ำรวยผิดปกติ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ออกจากตำแหน่งต่อประธานรัฐสภา
ศาลรัฐธรรมนูญ
องค์กร – ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ที่มา - พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้
1. ผู้พิพากษาศาลฎีกา
จำนวน 3 คน
2. ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวน
2 คน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 2 คน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 2 คน
- ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลฎีการัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จำนวน - ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คน
วาระ - 9 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
คุณสมบัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี
3. ไม่เป็น ส.ส. , ส.ว. , ข้าราชการเมือง , สมาชิกสภาท้องถิ่น , ผู้บริหารท้องถิ่น
4. ไม่เป็น หรือเคยเป็นสมาชิก หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ของพรรคการเมืองในระยะ
3 ปีก่อนดำรงตำหน่ง
หน้าที่ - 1. พิจารณาและวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดแย้งรัฐธรรมนูญ
2. พิจารณาและวินิจฉัยความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
หรือองค์กร
ตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาล
ศาลยุติธรรม
องค์กร - คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
ที่มา - พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและการให้พ้นตำแหน่งของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วย
1. ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล
ได้แก่ ศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน
3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คนและได้รับเลือกจากรัฐสภา
3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คนและได้รับเลือกจากรัฐสภา
ระดับของศาล - มี 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
หน้าที่ 1. พิจารณาคดีต่าง ๆ ตามระดับชั้นของศาล
2. ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
ศาลอุทธรณ์
มีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มีหน้าที่พิจารณา
ศาลปกครอง
องค์กร - คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
ที่มา - คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและรัฐสภาเห็นชอบแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบ
บังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้ง
จำนวน - ประธานศาลปกครองสูงสุด จำนวน 1 คน และตุลาการศาลปกครอง 12 คน
หน้าที่ - พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน
ระดับของศาล - มี 2 ระดับ
1. ศาลปกครองชั้นต้น
2. ศาลปกครองสูงสุด
ศาลทหาร
หน้าที่ - พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหาร องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มี 4 องค์กร คือ
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.)
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
(ค.ต.ง.)
3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.)
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ที่มา - 1. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
2. คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง มีจำนวน 7 คน ได้แก่ ประธานศาลฎีกา,
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, ประธานศาลปกครองสูงสุด , ประธานสภาผู้แทนราษฎร,
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร , บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก 1 คน และบุคคล
ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก 1 คน
มีหน้าที่คัดเลือกกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 3 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา
3. ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีการพิจารณาสรรหากรรมการการเลือกตั้ง
จำนวน 2 คน เสนอต่อ
ประธานวุฒิสภา
4. วุฒิสภาให้ความเห็นชอบและประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์
เพื่อทรงแต่งตั้ง
จำนวน - ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง จำนวน 1 คน และกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 4 คน
หน้าที่ 1. จัดการเลือกตั้งและเพิกถอนการเลือกตั้ง
ส.ส. , ส.ว. , องค์กรปกครองท้องถิ่น
2. ลงประชามติ
3. ควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับพรรคการเมือง
ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ที่มา - 1. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
2. คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน มีจำนวน 7 คน (เหมือนกับคณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการเลือกตั้ง) ทำหน้าที่สรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 3 คนเสนอต่อประธาน
วุฒิสภา
3. วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ
และประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรง
แต่งตั้ง
จำนวน - ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวน 1 คน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 2 คน
วาระ - 6 ปี
และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว
หน้าที่ - 1. พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียน การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือละเว้น
การปฏิบัติตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือราชการ
ส่วนท้องถิ่น
2. ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3. ติดตามประเมินผลและจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ที่มา : พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามความเห็นชอบของวุฒิสภา
ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
จำนวน :
ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอีก 6 คน
วาระ : 6 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
หน้าที่ : 1. กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
2. ให้คำแนะนำและเสนอแนะแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
3. แต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง เพื่อวินิจฉัยคดีทางวินัยทางการเงิน
และการคลัง
คุณสมบัติ :
1. มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การคลังและอื่น ๆ
2. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
1. องค์กรอัยการ - มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดย
เที่ยงธรรม
2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- ตรวจสอบและรายงานการกระทำ
หรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
3. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง
ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบทรัพย์สินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปนี้
1. นายกรัฐมนตรี 2. รัฐมนตรี
3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4. สมาชิกวุฒิสภา
5. ข้าราชการการเมืองอื่น 6. ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่รับตำแหน่ง หรือ พ้นตำแหน่ง
2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้คือ ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค
มาตรา ๓๐ (ความเสมอภาค)บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความ
แตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ
สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคมความ เชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้
มาตราการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคล สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือว่า เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มาตราการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคล สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือว่า เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
มาตรา ๔๙
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๐
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชา
การการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้
เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา
๕2 เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย
จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญเด็ก เยาวชน สตรี
และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าวการแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก
เยาวชน และบุคคลในครอบครัว
จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่ง
มาตรา๘๖ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์
ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน ดังต่อไปนี้
(๑)
ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง
ๆโดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้ จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า
วิจัยและให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา
จัดให้มีการใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ
และการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม
รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่
และสนับสนุนให้ประชาชนใช้
หลักด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต
(๒) ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่
รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย
พัฒนา
และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติและเป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
มาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้
มาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้
(1) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
(2) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ
และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่
(4)
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชนรวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
(5)
ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน
มาตรา ๒๘๗ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม
และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น
และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติการจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นตามวรรคสอง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
และสิ่งที่เกี่ยวข้องอีกประการหนึ่งคือ
อปท.ย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรมและเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติและต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี
ภูมปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง
ยกตัวอย่าง
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
เพราะการที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม การอยู่รวมกลุ่มกันของมนุษย์ในสังคมทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่วางระเบียบ
และกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์เองตามสภาพบังคับของสังคมนั้นๆ ทั้งนี้
เมื่อสังคมต้องการ ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือ กฎหมาย
ฉันใด ประเทศก็ย่อมต้องการ รัฐธรรมนูญ ฉันนั้นดังสุภาษิตกฎหมายที่ว่า
มีสังคมอยู่ที่ไหนมีกฎหมายอยู่ที่นั่น นั่นเอง
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ
บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง ๆโดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้ จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา จัดให้มีการใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุนให้ประชาชนใช้
หลักด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
4. ทำไมเราต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ?
ซึ่งเราทราบกันดีแล้วว่า
รัฐนั้นต้องประกอบด้วยดินแดน ประชากร รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย
โดยนัยนี้ รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายซึ่งว่าด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับรัฐนั่นเอง เช่นว่า ดินแดน จะกว้างไกลแค่ไหน
เป็นรัฐเดี่ยวหรือรัฐรวม ประชากร มีสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่เพียงใด รัฐบาล
เป็นใคร มาจากไหน ตั้งขึ้นอย่างไร
เอาออกได้หรือไม่ ใครเป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตย ใครเป็นผู้ใช้ แล้วจะใช้อย่างไร และมีการจัดระบบระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร เป็นต้น
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมี ประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน
ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
สำหรับเหตุผลที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็สามารถแยกเหตุผลให้เห็นได้ชัด ดังต่อไปนี้
1. ปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้เข้ากับยุคปัจจุบัน
2. เพราะเห็นช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญฉบับเก่า
3. ทำให้ผู้เสียเปรียบจากรัฐธรรมนูญฉบับเก่าได้รับผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น
4. เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม
ในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนบางกลุ่มนั้น ประชาชนกลุ่มดังกล่าวมีสิทธิ์ที่จะคัดค้าน แต่การคัดค้านของประชาชนนั้นอาจมองได้หลายมิติ เช่น บางคนคัดค้านเพราะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับเก่าดีอยู่แล้ว เมื่อร่างฉบับใหม่ ประชาชนเป็นผ้เสียเปรียบ นักการเมืองหรือข้าราชการเป็นผู้ได้เปรียบ นั่นก็เป็นมุมมองที่ดี แต่บางคนคัดค้านเพราะได้รับผลประโยชน์ ได้รับเงินจากคนบางกลุ่มที่ได้รับความเสียเปรียบ จึงใช้เงินให้ประชาชน ชาวบ้าน ที่ไม่ได้นึกถึงข้อดีข้อเสียเข้าร่วมคัดค้าน ซึ่งเห็นได้ชัดในสังคมไทย ถ้ามองให้ดี ลองนึกดูว่าทำไมเปลี่ยนรัฐบาลครั้ง จะต้องมีการเปลี่ยน/แก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้ง ผลประโยชน์นั้นเกิดกับผู้ที่จะร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญแน่นอน
6. ปัจจุบัน การปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉัน ดิฉันคิดว่า รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงที่มั่นคงและน่าเชื่อถือและยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ที่ดี และมีความสามารถที่จะรักษาความมั่งคงและเสถียรภาพของการบริหารบ้านเมืองต่อไปได้ แต่อยากให้เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกฝ่ายนั้นได้ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม และดำเนินงานให้เป็นไปอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งต้องตั้งมั่นอยู่บนความยุติธรรม ความถูกต้องและยึดหลักกฎหมายและรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขของประชาชน ให้สมกับที่ประชาชนได้ฝากความไว้วางใจและความมั่นคงรวมถึงความเจริญก้าวหน้า ของประเทศชาติไว้ในมือพวกท่าน
สำหรับเหตุผลที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็สามารถแยกเหตุผลให้เห็นได้ชัด ดังต่อไปนี้
1. ปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้เข้ากับยุคปัจจุบัน
2. เพราะเห็นช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญฉบับเก่า
3. ทำให้ผู้เสียเปรียบจากรัฐธรรมนูญฉบับเก่าได้รับผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น
4. เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม
ในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนบางกลุ่มนั้น ประชาชนกลุ่มดังกล่าวมีสิทธิ์ที่จะคัดค้าน แต่การคัดค้านของประชาชนนั้นอาจมองได้หลายมิติ เช่น บางคนคัดค้านเพราะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับเก่าดีอยู่แล้ว เมื่อร่างฉบับใหม่ ประชาชนเป็นผ้เสียเปรียบ นักการเมืองหรือข้าราชการเป็นผู้ได้เปรียบ นั่นก็เป็นมุมมองที่ดี แต่บางคนคัดค้านเพราะได้รับผลประโยชน์ ได้รับเงินจากคนบางกลุ่มที่ได้รับความเสียเปรียบ จึงใช้เงินให้ประชาชน ชาวบ้าน ที่ไม่ได้นึกถึงข้อดีข้อเสียเข้าร่วมคัดค้าน ซึ่งเห็นได้ชัดในสังคมไทย ถ้ามองให้ดี ลองนึกดูว่าทำไมเปลี่ยนรัฐบาลครั้ง จะต้องมีการเปลี่ยน/แก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้ง ผลประโยชน์นั้นเกิดกับผู้ที่จะร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญแน่นอน
6. ปัจจุบัน การปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉัน ดิฉันคิดว่า รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงที่มั่นคงและน่าเชื่อถือและยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ที่ดี และมีความสามารถที่จะรักษาความมั่งคงและเสถียรภาพของการบริหารบ้านเมืองต่อไปได้ แต่อยากให้เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกฝ่ายนั้นได้ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม และดำเนินงานให้เป็นไปอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งต้องตั้งมั่นอยู่บนความยุติธรรม ความถูกต้องและยึดหลักกฎหมายและรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขของประชาชน ให้สมกับที่ประชาชนได้ฝากความไว้วางใจและความมั่นคงรวมถึงความเจริญก้าวหน้า ของประเทศชาติไว้ในมือพวกท่าน
อ้างอิง
กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ.(2555). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550. (ออนไลน์).http://library2.parliament.go.th/giventake/cons2540-2550.html
[ 18 พฤศจิกายน 2555]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น