ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
กฎหมายคือ ข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่้งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง) โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน"
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัตินั้นสามารถสรุปได้ดังนี้ สำหรับหลักความเสมอภาค จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งในหลักการประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 30 ได้บัญญัติว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
กฎหมายคือ ข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่้งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง) โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน"
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัตินั้นสามารถสรุปได้ดังนี้ สำหรับหลักความเสมอภาค จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งในหลักการประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 30 ได้บัญญัติว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ
และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น นอกจากนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะตาม พรบ. เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ด้วย
ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น นอกจากนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะตาม พรบ. เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ด้วย
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
แนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น สำหรับดิฉันคิดว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นได้เหมือนกัน
ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนของสถานศึกษา
เพราะมีผลในทางจิตวิทยาเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือหากตัวดิฉันเองได้เข้าไปมีส่วนร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร
ความคิดเห็นถูกรับฟังและนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสถานศึกษา และที่สำคัญที่ดิฉันคิดว่า ผู้ที่มีส่วนร่วมจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
และจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการบริหารได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากนั้นยังมีการจัดระดมทรัพยากร เช่น
งบประมาณ วัสดุ สื่อ เทคโนโลยี เพื่อมาสนับสนุนการจัดการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
รูปแบบการจัดการศึกษาจะปรากฏอยู่ในมาตรา 15 โดยมีเนื้อความว่า การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของ
การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของ
การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
และการศึกษาในระบบจะปรากฏอยู่ในมาตรา 16 โดยมีเนื้อความว่า การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ
การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษาการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วเป็นการให้ความสำคัญแก่การศึกษาระดับนี้ที่ถือกันว่าเป็นกำลังคนระดับกลางและพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ตามแนวโน้มใหม่จะแบ่งเป็นระดับปริญญาตรี และหลังปริญญาตรี เพื่อยกระดับความสำคัญของการวิจัยค้นคว้า การสร้างองค์ความรู้ในระดับปริญญาโท-เอก จะได้จำแนกภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เพื่อความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ก็ยังคิดตามแนวเดิมว่าระดับปริญญามีเพียงระดับเดียว คือ ปริญญาโทร-เอกรวมกัน
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษาการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วเป็นการให้ความสำคัญแก่การศึกษาระดับนี้ที่ถือกันว่าเป็นกำลังคนระดับกลางและพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ตามแนวโน้มใหม่จะแบ่งเป็นระดับปริญญาตรี และหลังปริญญาตรี เพื่อยกระดับความสำคัญของการวิจัยค้นคว้า การสร้างองค์ความรู้ในระดับปริญญาโท-เอก จะได้จำแนกภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เพื่อความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ก็ยังคิดตามแนวเดิมว่าระดับปริญญามีเพียงระดับเดียว คือ ปริญญาโทร-เอกรวมกัน
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการศึกษาภาคบังคับ
เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์
ซึ่งกำหนดตามอายุ หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ
การจัดการศึกษาทุกระดับ และทุกประเภทต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายของรัฐบาล
รัฐและเอกชนต่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของสังคม
พัฒนาประเทศและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ
ได้กำหนดไว้ในมาตรา 43 ว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ
ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า ด้วยการเรียนภายในเวลาสิบสองปีให้ได้ความรู้ให้มากที่สุดเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตต่อไป
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
อธิบายยกตัวอย่าง
มีการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตามข้อ (2) (3) (4) (5) และ (6) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตามข้อ (2) (3) (4) (5) และ (6) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ไม่ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้เพราะ ตาม
พ.ร.บ.นี้ในส่วนที่๕ มาตราที่๔๓ ได้ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
1 -ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2 - ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3 -นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4 -ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5 - ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6 -คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7 - ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
1 -ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2 - ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3 -นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4 -ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5 - ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6 -คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7 - ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8 -บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
ในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าเป็นระเบียบ แบบแผน ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะต้องถือปฏิบัติตาม หากผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษทางวินัย ซึ่ง การพิจารณา ความผิด และ การลงโทษ เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.นี้ มาตรา 96 และโทษผิดวินัยมี 5 สถาน ได้แก่
ในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าเป็นระเบียบ แบบแผน ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะต้องถือปฏิบัติตาม หากผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษทางวินัย ซึ่ง การพิจารณา ความผิด และ การลงโทษ เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.นี้ มาตรา 96 และโทษผิดวินัยมี 5 สถาน ได้แก่
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
เด็กกำพร้า
ตามความเข้าใจของดิฉัน ดิฉันคิดว่า พวกเขาจะเป็นเด็กเหมือนกัน
ซึ่งมีลักษะที่มีความคล้ายคลึงกัน สำหรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ
ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งในแต่คำก็จะมีความที่แตกต่างกันไปตามความหมาย สำหรับคำว่า เด็ก
ดิฉันเข้าใจความหมายว่า เป็นบุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถ เลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ
หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า
เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง
หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติ ปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กพิการ” หมายความว่า
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้น
จะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะ
ชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อม
หรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น