1.มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้
ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว
มีดังนี้
เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
เด็กพิการ เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด นักเรียน นักศึกษา
บิดามารดา ผู้ปกครอง ครอบครัวอุปถัมภ์ การเลี้ยงดูโดยมิชอบ
ทารุณกรรม สืบเสาะและพินิจ สถานรับเลี้ยงเด็ก
สถานแรกรับ
สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ
“เด็ก” หมายความว่า
บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถ เลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ
หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า
เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง
หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติ ปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กพิการ” หมายความว่า
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้น
จะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะ ชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อม
หรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
“นักเรียน” หมายความว่า
เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือ เอกชน
“นักศึกษา” หมายความว่า
เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
“บิดามารดา” หมายความว่า
บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
“ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล
ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพนายจ้าง
ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ ด้วย
“ครอบครัวอุปถัมภ์” หมายความว่า
บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
“การเลี้ยงดูโดยมิชอบ” หมายความว่า
การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนหรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ
ที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
“ทารุณกรรม” หมายความว่า
การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ
หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะ
เป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
“สืบเสาะและพินิจ” หมายความว่า
การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนำมาวิเคราะห์วินิจฉัยตาม
หลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา
กฎหมายและหลักวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น
“สถานรับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า
สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวน
ตั้งแต่หกคนขึ้นไป
ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็ก
ดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน
“สถานแรกรับ” หมายความว่า
สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบ ครัว
เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละ ราย
“สถานสงเคราะห์” หมายความว่า
สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์
ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
“สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ” หมายความว่า
สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา
และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับการคุ้ม
ครองสวัสดิภาพ
3.คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการ
และผู้สูงอายุเป็นกรรมการ
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่ง
คงของมนุษย์แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพ
สังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ ไม่น้อยกว่าเจ็ดปี วิชาชีพละสองคน
โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคน
และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านสวัสดิการ
เด็กมาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีอีกสองคน
โดยมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวงมอบ
หมายเป็นกรรมการและเลขานุการกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรี
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามคณะกรรมการจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
4.กรรมผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี
และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้าง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
1.ตาย
2.ลาออก
3.รัฐมนตรีให้ออก
4.ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
5.เป็นบุคคลล้มละลาย
6.เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
7.ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้
ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา โดยการให้ความรู้ การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ พัฒนาและฟื้นฟู สถานพินิจหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กของรัฐและเอกชนภายใน การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด
6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง
ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา โดยการให้ความรู้ การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ พัฒนาและฟื้นฟู สถานพินิจหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กของรัฐและเอกชนภายใน การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด
6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง
ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการ ดังต่อไปนี้
1.ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้าง เลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
1.ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้าง เลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
2.ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ
โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
3.จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
4.ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
5.ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
7.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
1.กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
2.จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่ อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
3.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
4.โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
5.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
1.กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
2.จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่ อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
3.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
4.โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
5.บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
6.ใช้ จ้าง
หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผล
กระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
7.บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม
หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด
เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโต
หรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
8.ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน
สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
9.บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม
หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร
ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
10.จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก
เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งมีโทษตามกฎหมายอื่นที่หนักกว่าก็ให้ลงโทษตามกฎหมายนั้น
8.เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์
เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่
1.เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า
2.เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
3.เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท
4.เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อ พัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
5.เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทาง ศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
6.เด็กพิการ
7.เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8.เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่
1.เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า
2.เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
3.เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท
4.เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อ พัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
5.เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทาง ศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
6.เด็กพิการ
7.เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8.เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
9.เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่
1.เด็กที่ถูกทารุณกรรม
2.เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
3.เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่
1.เด็กที่ถูกทารุณกรรม
2.เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
3.เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
10.ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวืิธีการ
ส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไร
จัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน
นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสมความรับผิดชอบต่อสังคม
และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง นักเรียนและนักศึกษาต้องแต่งกายตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและ
ต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดฝ่าฝืน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดและมีอำนาจนำตัวไป
มอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น
เพื่อดำเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ
ในกรณีที่ไม่สามารถนำตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
อบรมสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนหรือ
สั่งสอนเด็กอีกชั้นหนึ่ง การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้กระทำเท่าที่สมควรเพื่อการอบรมสั่งสอนตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
11.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็น อะไรบ้าง มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง
11.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็น อะไรบ้าง มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง
มาตรา
๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน
หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา
๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐(๑)หรือ(๕)หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐(๔)ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐(๓)ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐(๑)หรือ(๕)หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐(๔)ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐(๓)ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา
๘๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ
ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา ๔๓
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๘๒ ผู้ใดจัดตั้งหรือดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ
สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูตามมาตรา ๕๒
โดยมิได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอนหรือหมดอายุ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ยื่นคำขออนุญาตหรือยื่นคำขอต่อใบ
อนุญาตภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๓
เจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ
หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง
หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ดำเนินการแก้ไขหรือปฏิบัติตามคำแนะ
นำของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ แล้ว
การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา
๘๔ ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ
สถานสงเคราะห์สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟูโดยมิได้รับแต่งตั้งตามมาตรา
๕๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๘๕ ผู้ใดกระทำการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ
หรือสนับสนุนให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา ๖๔
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๖
ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
12.ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กฉบับนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น